โควิดยังไม่นิ่ง ฝีดาษลิงเข้ามาซ้ำ
20 มิถุนายน 2022
โรคฝีดาษลิง เกิดจากเชื้อไวรัส Orthopoxvirus เป็นโรคระบาดที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ถูกค้นพบในสัตว์เลี้ยงตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ โดยโรคนี้มี 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ West African clade ซึ่งมีอาการไม่รุนแรง และสายพันธุ์ Central African clade ซึ่งมีอาการรุนแรงกว่า เป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ อาการของโรครุนแรงน้อยกว่าโรคฝีดาษคน (Smallpox) แต่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคฝีดาษลิง โดยอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้อยู่ที่ 1-10%
โรคฝีดาษลิงติดต่อมาสู่มนุษย์ได้อย่างไร
รายงานจากกรมควบคุมโรค กล่าวว่า มนุษย์อาจติดเชื้อโรคฝีดาษลิงได้ใน 2 ลักษณะ
1. การติดเชื้อจากสัตว์สู่คน
- สัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง และเลือด
- สัมผัสตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ
- ถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน
- การกินเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อและปรุงสุกไม่เพียงพอ
2. การติดเชื้อจากคนสู่คน
- สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ไอ จาม หรือการพูดคุย
- สัมผัสผิวหนังที่เป็นตุ่มหนอง ของผู้ติดเชื้อ
ระยะฟักตัว
เชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน หรืออาจนานถึง 21 วัน
อาการของโรคฝีดาษลิง
1. ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหลังติดเชื้อประมาณ 7-14 วัน
2. มีไข้ หนาวสั่น
3. ปวดหัว
4. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
5. อ่อนเพลีย
6. ต่อมน้ำเหลืองโต
7. มีผื่นขึ้นบริเวณร่างกาย มีลักษณะ เป็นตุ่มหนอง คล้ายโรคอีสุกอีใส
5 วิธี ป้องกันตัวเองจากฝีดาษลิง
1. ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์
2. งดรับประทานอาหารที่ปรุงจากสัตว์ป่า
3. หลีกเสี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าจากพื้นที่เสี่ยงหรือสัตว์ป่วย หีรือมีผู้มีประวัติมาจากพื้นที่เสี่ยง
4. วัคซีนที่ได้รับอนุมัติใน USA คือ JYNNEOS
5. การสวมหน้ากาก นอกจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อจาก COVID-19 ได้แล้ว ยังสามารถป้องกันการติดเชื้อจากโรคฝีดาษลิงจากทางเดินหายใจ การพูดคุย หรือแม้กระทั้งละอองฝอยจากคนรอบข้าง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าการสวมหน้ากากอนามัยยังคงเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวัน
หน้ากากแลโบทานิก หน้ากากที่มีผลการวิจัย ด้วยนวัตกรรมจากผ้านาโนซิงค์ มีผลการรับรองจากสถาบัน THTI SGS RUEE และ Boken Quality Evaluation Institute (Japan) ผ่านการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ 9 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ ด้วยเทคนิคตามมาตรฐาน AATCC 100 และเทคนิคตามมาตรฐาน ASTM E2149 ต้านเชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA) คือ เชื้อดื้อยา เกิดจากการติดเชื้อในโรงพยาบาล หน้ากากแลโบทานิกสามารถกันฝุ่นละออง ละอองฝอย และมีผลทดสอบการกรองอนุภาค 1 ไมครอน และ 3 ไมครอน 43.53% และ 72.99% ตามมาตรฐานASTM F2299-03 ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการต้านเชื้อแบคทีเรีย >99.95% ตามมาตรฐาน AATCC TM: 2011
แม้ว่าในประเทศไทยในตอนนี้จะยังพบผู้เป็นโรคฝีดาษลิง แต่เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคระบาด การสวมหน้ากากที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี ก็สามารถป้องกันการแพร่ระบาดได้